วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อาหารไทย สร้างชื่อกระหึ่มในงาน Fine Food Australia 2009


                 กรมส่งเสริมการส่งออก นำผู้ประกอบการด้านอาหารไทย บุกงานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลียหวังเจาะตลาดผู้บริโภค ณ นครซิดนีย์ สร้างรายได้แก่สินค้าไทยกว่า 360 ล้านบาท
 
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จจากการที่กรมฯ ได้นำผู้ส่งออกไทยกว่า 30 บริษัท เข้าร่วมงานแสดงสินค้า    Fine Food Australia 2009 Sydney Convention & Exhibition Centre, Darling Harbour ณ นครซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย   เมื่อระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2552 งานดังกล่าวนี้นับได้ว่าเป็นงานแสดงสินค้าอาหาร เครื่องดื่มตลอดจนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องที่ใหญ่ที่สุดในประเทศออสเตรเลีย จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ปีละ 1 ครั้ง โดยจัดสลับกันระหว่างนครซิดนีย์และเมืองเมลเบิร์น โดยวัตถุประสงค์หลักเพื่อเจรจาธุรกิจและรับคำสั่งซื้อเท่านั้น  กรมฯ นำผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานนี้เป็นครั้งที่แล้วโดยการเจรจาธุรกิจนับว่าประสบผลสำเร็จและได้รับความสนใจจากผู้นำเข้าออสเตรเลียเป็นอย่างดี
การเข้าร่วมงานในครั้งนี้ถือเป็นการบุกตลาดอาหารในออสเตรเลีย ซึ่งอาหารไทยและร้านอาหารไทยกำลังเป็นที่สนใจและได้รับความนิยม จะเห็นได้จากภายในงานมียอดคำสั่งซื้อสินค้าไทยทันที 1.62 ล้านบาท และคาดว่าจะได้รับคำสั่งซื้อภายใน 1 ปี 363 ล้านบาท ซึ่งสินค้าไทยที่ได้รับความสนใจก็มีหลากหลายประเภท อาทิ สับปะรดกระป๋อง น้ำกะทิ ชาสมุนไพร ผลไม้แห้ง ผลไม้กระป๋อง น้ำมะพร้าวสด ข้าวโพดอ่อน ข้าวโพดหวานกระป๋อง ข้าวหอมมะลิ ซีอิ้วขาวสูตรเจ ซอสวาซาบิ บรรจุภัณฑ์พลาสติก และเครื่องครัวสแตนเลส
นอกจากการเจรจาการค้าแล้ว ทาง สคต. ณ นครซินีย์และผู้ส่งออกไทยยังได้มีการจัดกิจกรรมพิเศษสาธิตอาหารไทย โดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครซิดนีย์ ได้เชิญผู้ประกอบการร้านอาหารไทยที่ได้รับ Thai Select ในนครซิดนีย์ทำการสาธิตอาหารไทยจำนวน 2 รอบต่อวัน รอบละ 2-3 รายการอาหาร โดยเน้นการประชาสัมพันธ์สินค้ากุ้งไทยและเพิ่มเมนูอาหารที่มีกุ้งเป็นส่วนประกอบ ซึ่งการสาธิตทำการอาหารโดยร้านอาหารไทยได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้เข้าชมงาน และเป็นการประชาสัมพันธ์อาหารไทย และร้านอาหารไทยที่ได้รับรางวัล Thai Select ได้เป็นอย่างดี
ตลาดออสเตรเลียนับเป็นตลาดเป้าหมายส่งออกสำคัญอีกตลาดหนึ่งของไทยเนื่องจากเป็นประเทศกลุ่ม ASEAN+6 ซึ่งกรมฯ เร่งรัดการส่งออกอย่างมากโดยเฉพาะสินค้าอาหารในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) ออสเตรเลียได้นำเข้าสินค้าอาหารประเทศต่างๆ จากไทยเป็นมูลค่า 1,270 ล้านบาท สูงกว่าระยะเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 28.33 (ซึ่งนำเข้า 990 ล้านบาท)
สำหรับการส่งออกสินค้าไทยโดยรวมไปยังออสเตรเลียในปี 2551 มีมูลค่า 263,179.21 ล้านบาท เพิ่มสูงขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 28.56 ส่วนการส่งออกไปออสเตรเลียในระยะ 8 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-ส.ค.) มีมูลค่า 170,727.20 ล้านบาท ลดลงจากระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 3.20 ตามการถดถอยของเศรษฐกิจโลก สินค้าสำคัญ 5 รายการแรกที่ไทยส่งออกไปออสเตรเลียได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ (26.57%) รถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (22.84%) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (13.76%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (3.10%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (2.56%)
...
...

^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^^

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศิลปะของประเทศออสเตรเลีย



-          ออสเตรเลียเต็มไปด้วยศิลปะที่แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย ซิดนีย์ โอเปร่าเฮาส์ เป็นหนึ่งในสัญญาลักษณ์ซึ่งคนจะรู้จักดีที่สุดในออสเตรเลีย

-          ชาวออสเตรเลียได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติถึงความสามารถในด้านศิลปะและการแสดง ปัจจุบันวรรณกรรมของออสเตรเลียก็ได้รับการยอมรับว่าเป็นศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในการเขียนภาษาอังกฤษร่วมสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
        
-          แพททริค ไวท์ นักเขียนนวนิยายชาวออสเตรเลีย ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม


ที่มา : www.kullawat.net/14.ppt

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ (International trade) หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
  • ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
  • ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
  • สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
  • สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
  • สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
  • เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ที่่มา : http://learners.in.th/file/kulkanit/
การตลาดระหว่างประเทศ ( international  marketing )
คือ การดำเนินธุรกิจในตลาดต่างประเทศ โดยปกติแล้วเมื่อธุรกิจกิจมีความอิ่มตัวตลาดในประเทศมักจะขยายกิจการโดยการส่งสินค้าหรือบริการไปยังตลาดต่างประเทศด้วย ซึ่งอาจจะเริ่มจากเพียงประเทศเดียวหรือไม่กี่ประเทศก่อนก็ได้ในที่สุดอาจจะขยายไปได้ถึงระดับประเทศ